http://www.mantanasin.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 หน้าแรก

 เกี่ยวกับเรา

 เยี่ยมชมโรงงาน

 ภาพการทำงาน

 ร่วมงานกับเรา

 ลงโฆษณาฟรี

เทวสตรี

เทวสตรี

เทวสตรี

พระแม่กาลี หรือ กากิลา  จำหน่ายรูปปั้นพระแม่กาลี จำหน่ายรูปปั้นกากิลา

เทวดาแห่งมรณะ เวลา การเปลี่ยนแปลง

พระแม่กาลี หรือ กากิลา (काली, Kālī, แปลว่า หญิงดำ) เป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวี ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีกายสีดำสนิท มีลักษณะดุร้าย มี ๑๐ พระกร ถืออาวุธร้ายอยู่ในพระกรทั้งสิบนั้น แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก ที่ริมฝีปากมีเลือดไหลหยดเป็นทางยาว เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก มีงูใหญ่ร้อยคาดองค์ดั่งสังวาลย์

พระแม่กาลี หรือ เจ้าแม่กาลี มีอำนาจฤทธิ์ในการปราบปรามสิ่งชั่วร้ายทั้งปวง มีเทวานุภาพอันแรงกล้า สร้างความวิบัติแก่เหล่าอสูรอย่างรุนแรง เด็ดขาด แฝงเร้นไว้ซึ่งความน่ากลัว ผู้บูชาพระแม่กาลีอย่างถูกต้องและเคร่งครัด พระแม่จะประทานความแข็งแกร่ง ความกล้าหาญ และอำนาจเหนือผู้อื่น

พระแม่กาลี ยังมีพลังอำนาจในการขจัดคุณไสย ลบล้างไสยเวทย์ด้านมืด หากบุคคลใดถูกกระทำทางไสยศาสตร์ เมื่อผู้นั้นได้สวดบูชาอ้อนวอนต่อพระองค์ท่านแล้ว พระองค์ท่านก็มักให้พร ขจัดสิ่งอาถรรพ์ชั่วร้ายให้มลายหายไป

ผู้ใดกระทำการสวดบูชา สรรเสริญ และถวายเครื่องสังเวยแด่พระแม่กาลีเป็นประจำ พระองค์ท่านจะประทานความปลอดภัยมาสู่ผู้นั้น ทรงดลบันดาลให้เกิดความสันติผาสุขแก่ผู้ครองเรือนทั่วไป คุ้มครองผู้บูชาจากภยันตรายและอุบัติเหตุร้ายแรง

พระแม่กาลีทรงมีบุคลิกภาพที่ยากแก่การเข้าใจ มีความลึกลับที่สุดในบรรดาเทพเทวาทั้งปวง พระนางมีความดุดัน เกรี้ยวกราด รูปลักษณ์และอุปนิสัยล้วนเต็มไปด้วยความน่าะพรึงกลัว แต่พระนางก็จะทำลายเฉพาะอสูร ปีศาจ และมนุษย์ที่กระทำการชั่วร้ายเท่านั้น เนื่องจากพระแม่กาลีก็คือเทพ และเทพก็มักปกป้องคุ้มครองผู้กระทำความดีเช่นเดียวกันทุกพระองค์ ฉะนั้น แม้ผู้ที่บูชาพระแม่อย่างเคร่งครัด แต่เป็นคนที่ไม่ดี มีความคิดที่ชั่วร้าย เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น พระแม่ท่านก็จะทำลายบุคคลผู้นั้นเสียโดยไม่ละเว้น!!

ตำนานกล่าวว่า พระอุมาซึ่งอยู่ในปางอัมพิกา พระสิริโฉมงดงามเสด็จสู่สนามรบ เมื่อเหล่าอสูรได้เห็นก็พยายามจะได้นางเป็นชายา แต่นางได้ต่อสู้กับเหล่าอสูรด้วยความพิโรธ ในปางพระแม่กาลี จนอสูรทั้งหลายตายจนเกือบหมด เหลือเพียงมาธูอสูร ที่ทรงสังหารอย่างไรก็ไม่ตาย เพราะเคยได้รับพรจากพระศิวะให้มีชีวิตเป็นอมตะ หากเลือดหยดถึงพื้นดินก็จะเกิดเป็นอสูรอีกมากมายไม่สิ้นสุด ร้อนถึงพระศิวะ ทรงประทานวิธีให้พระแม่กาลีดื่มเลือดอสูรทุกครั้งอย่าให้ตกถึงดิน มาธูอสูรจึงถึงแก่ความตาย

หลังจากชนะอสูรมาธู พระนางทรงดีพระทัย กระโดดเต้นเพื่อฉลองชัยชนะ แต่ด้วยตบะอันแรงกล้าทำให้เกิดความเดือดร้อน ต่อด้วยโลกธาตุทั้งปวงเมื่อพระนางกระทืบพระบาท พระศิวะจะเข้าห้ามปรามก็เกรงความดุร้ายของพระนาง จึงใช้อุบายทรงทอดพระกายลงบนพื้นที่พระนางจะกระทืบพระบาท เมื่อพระกาลีเห็นพระศิวะที่พื้น ด้วยปางหนึ่งที่เป็นพระปารวตี ซึ่งรักและภักดีในพระศิวะยิ่ง จึงก็ทรงชะงัก และแลบลิ้นด้วยความขวยเขิน

การบูชาพระแม่กาลี ต้องใช้เลือดบริสุทธิ์ ในอดีตมีการใช้หญิงพรหมจารีย์ไปบูชายัญด้วยเลือดจากลำคอ แต่เมื่ออังกฤษเข้าปกครองอินเดีย ได้สั่งห้ามการฆ๋าคนเพื่อบูชายัญ ปัจจุบันนี้การบูชาพระแม่กาลีใช้เลือดแพะแทน

จากการที่พระแม่กาลีเป็นปางหนึ่งของพระอุมาเทวีที่ดุร้าย มีรูปลักษณ์คล้ายปีศาจและใช้เลือดและชีวิตในการบูชายัญ จึงมีความเข้าใจผิดกันว่า พระแม่กาลีเป็นเทพเจ้าแห่งความชั่วร้าย ในสำนวนภาษาไทยจึงมีคำว่า "กาลี" ซึ่งหมายความว่า สิ่งที่ชั่วร้าย เช่น "กาลีบ้านกาลีเมือง" หมายถึง "สิ่งที่ชั่วร้ายต่อบ้านเมือง" เป็นต้น

 พระแม่คงคา จำหน่ายรูปปั้นพระแม่คงคา

พระแม่คงคา มีประวัติดั้งนี้พระองค์เป็นพระธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกามีน้องสาวนามว่าพระอุมาภควตี พระองค์ทรงเป็นพระชายาของพระศิวะ ตามคติความเชื่อของอินเดีย ว่ากันว่าพระองค์ทรงปลาใหญ่หรือจรเข้เป็นพาหนะ พระองค์เป็นเทวีผู้ให้กำเนิดสายน้ำ คงคาตามความเชื่อของชาวอินเดีย และนอกจากนั้นชาวฮินดูยังเชื่อว่าสายน้ำ คงคานั้นสามรถชำระล้างบาปของตนได้ พระนางคงคานั้นไม่ได้มีปางอันใดเนื่องจากว่าไม่มีการแบ่งภาคลงมาเกิดแต่มีการร่วมกับองค์พระศิวะในปาง คงเคศวรนั้นเอง นอกจากนั้นก็จะคงพบในรูปเคารพของพระศิวะโดยพระองค์จะปรากฏในเทวลักษณะที่เป็นน้ำไหลจากมวยผมของพระศิวะ

 ทุรคา จำหน่ายรูปปั้นพระแม่ทุรคา  จำหน่ายรูปปั้นพระศรีมหาทุรคาเทวี

เทวดาแห่งการแก้แค้น ชัยชนะ

พระแม่ทุรคา (สันสกฤต: ทุรฺคา) หรือ พระศรีมหาทุรคาเทวี เป็นปางหนึ่งของ พระอุมาเทวี มีความหมายว่า "ผู้เข้าถึงได้ยาก" ไม่ว่าทั้งเทพเจ้า มนุษย์ อสูร แม้แต่พระอิศวร พระพรหม หรือพระนารายณ์ ก็ไม่อาจสังหารมหิษาสูรได้ [1] มีเพียงหญิงสาวที่ไม่ได้เกิดอย่างธรรมชาติ และเป็นหนึ่งในอำนาจทั้งหมดของจักรวาล ซึ่งก็คือพระแม่ทุรคา ซึ่งเกิดจากอำนาจทั้งปวงของเหล่าเทพเจ้า

ในช่วงเดือนกันยายนของทุกปี จะมีการบูชาพระแม่ทุรคาเรียกว่า เทศกาลนวราตรีคุเซราห์ มีการฉลองถึง ๙ วัน ๙ คืนด้วยกัน ในประเทศไทย งานฉลองนี้จะมีขึ้นประจำทุกปีที่วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เขตบางรัก โดยมีการแห่ไปตามท้องถนนในเวลากลางคืนด้วยดอกดาวเรืองและสิ่งบูชาต่าง ๆ

พระลักษณะ

พระแม่ทุรคาอยู่ในลักษณะของกานยาที่สุนทรที่สุดในสามโลก มี ๑๐ กรที่มีอำนาจไม่สิ้นสุด มีกายที่สว่างมาก มีพระเนตร ๓ ดวงที่มีลักษณะเหมือนปัทมา มีพระเกศที่นุ่มสละสลวย มีสีผิวสีทองแดง และมีดวงจันทร์ที่มีขนาดเป็นหนึ่งในสี่ส่วน ๑ ดวงอยู่บนพระนลาฏของพระนาง ประทับอยู่บนหลังสิงโต หรือเสือ ทรงทำยุทธกับมหิษาสูร ซึ่งเป็นลูกของอสูรรัมภะ กับนางกระบือ ซึ่งได้รับพรจากพระพรหมให้เป็นอมตะ และรบชนะทั้ง ๓ โลก  พระแม่ทุรคาทรงมีเครื่องแต่งกายสีฟ้ามหาสมุทรที่แวววาว และส่องแสงรัศมีที่ไร้ความปรานี

พระแม่ธรณี จำหน่ายรูปปั้นพระแม่ธรณี  จำหน่ายรูปปั้นแม่พระธรณี   จำหน่ายรูปปั้นพระศรีวสุนธรา

พระแม่ธรณี หรือ แม่พระธรณี หรือ พระศรีวสุนธรา เป็นเทพีแห่งพื้นแผ่นดิน ปรากฏในตำนานทั้งศาสนาพราหมณ์ ฮินดู และพุทธศาสนา

ในคติของศาสนาฮินดูให้ความเคารพนับถือว่าแผ่นดินเป็นสิ่งค้ำจุนสรรพสิ่งทั้งปวงในโลกเปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดหล่อเลี้ยงโลกและแผ่นดิน จึงได้รับยกย่องว่าเป็นเทพจากธรรมชาติองค์หนึ่งเป็นเพศหญิง เรียกนามว่า "ธรณิธริตริ" แปลว่า "ผู้ค้ำจุนพระธรณี" แม้จะมิค่อยมีรูปเคารพอย่างแพร่หลายเช่นเทพองค์อื่นแต่ก็มีผู้ให้ความเคารพนับถือเป็นจำนวนมิใช่น้อย เพราะถือกันว่าพระธรณีสถิตย์อยู่ตามที่ต่าง ๆ ทุกหนทุกแห่ง จะทำการบูชาด้วย ข้าว ผลไม้ และนมด้วยการวางไว้บนก้อนหิน หรือประพรมลงบนพื้นดิน บางแห่งใช้เหล้าเป็นการสังเวยก็มี นอกจากนี้ชาวฮินดูยังมีการขอขมาลาโทษเมื่อจะวางเท้าลงบนพื้นดินก่อนจะลุกขึ้นในตอนเช้า วัวหรือควายที่มีลูกก่อนที่จะให้ลูกกินนมครั้งแรก เจ้าของจะปล่อยน้ำนมของแม่วัวลงบนพื้นดินเสียก่อนทุกครั้งไป ถ้าเป็นพวกชาวนาก็จะขอให้พระธรณีช่วยคุ้มครองผืนนาและวัวควาย แม้ในพระเวทก็มีการขอร้องต่อพระธรณ๊ให้ช่วยพิทักษ์คุ้มครองวิญญาณของคนตาย และต่อมาได้นับถือว่าเป็นเทพแห่งไร่นาด้วย ในแคว้นปัญจาบเชื่อกันว่าพระธรณีจะนอนหลับเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ของทุก ๆ เดือนชาวไร่ชาวนาจะหยุดไม่ทำงานในระยะนี้

เทพแห่งแผ่นดินหรือพระธรณี ไม่ค่อยมีเรื่องราวประวัติความเป็นมาปรากฏมากมายดังเช่นเทพองค์อื่น หรือมีก็สับสน เช่น บางแห่งว่าพระธรณีมีโอรสกับพระนารายณ์องค์หนึ่งคือพระอังคาร บางแห่งว่าพระอังคารเป็นโอรสของพระศิวะกับพระธรณี หรือในคติพราหมณ์พบเพียงว่าเป็นชายาของพระธุรวะหรือดาวเหนือ

พระแม่ปารวตี จำหน่ายรูปปั้นพระแม่ปารวตี

เทวดาแห่งอำนาจ

พระแม่ปารวตี (สันสกฤต: ปารฺวตี) หรือ ปาราวตี พระชายาองค์ที่สองของ พระศิวะ โดยเป็นพระนางสตี พระชายาองค์แรก กลับชาติมาเกิดใหม่เป็นธิดาของท้าวหิมวัต

พระนางปาวรตีมีโอรสกับพระศิวะ สององค์ คือ พระคเณศ และพระขันทกุมาร บางชุมชนมีความศรัทธาว่าพระนางทรงเป็นพระภคินีของพระวิษณุ

ประวัติของพระนาม คำศัพท์ ปรรวัต (เทวนาครี: पर्वत, ปรฺวต) หรือ ปารวัต นั้นเป็นภาษาสันสกฤตมีความหมายว่า ภูเขา เพราะฉะนั้นคำว่า ปารวตี จึงหมายความว่า "นารีแห่งภูเขา"

 พระลักษมี จำหน่ายรูปปั้นพระลักษมี  จำหน่ายรูปปั้นพระมหาลักษมี

เทวดาแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์

พระลักษมี (สันสกฤต: ลกฺษฺมี) หรือ พระมหาลักษมี เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งความร่ำรวย โชคชะตา ความรัก ความงาม ดอกบัว และความอุดมสมบูรณ์ รูปเคารพของพระแม่ลักษมีนั้นนอกจากจะพบในศาสนสถานของศาสนาฮินดูแล้ว ยังพบในศาสนสถานของศาสนาเชนและศาสนาพุทธ ในบางแห่งอีกด้วย พระลักษมีนั้นมีความคล้ายคลึงกันกับเทพีของกรีกองค์หนึ่ง คือเทพีอะโฟร์ดิตี้ โดยที่เทพีทั้งสองนี้ ถือกำเนิดจากมหาสมุทรเหมือนกัน และเป็นตัวแทนของความสวยงามเหมือนกันอีกด้วย

พระแม่ลักษมี เป็นชายาของ พระวิษณุ เมื่อพระวิษณุได้อวตารเป็นพระราม พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารตามไปเป็นนางสีดา และเมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระกฤษณะ พระแม่ลักษมีก็ได้อวตารเป็น พระนางรัตตะ(พระราธา)

พระสุรัสวดี จำหน่ายรูปปั้นพระสุรัสวดี

เทวดาแห่งปัญญา ดนตรี ศิลปะ และนที

พระสุรัสวดี (สันสกฤต: สรสฺวตี) เป็นเทพีในศาสนาฮินดู โดยเป็นเทพีแห่งปัญญา ดนตรี ศิลปะ และนที และเป็นพระชายา(บางครั้งมีคนศรัทธาว่าเป็นพระธิดา)ของพระพรหม

พรรณนา

พระสุรัสวดีได้รับคำพรรณนาว่า สุนทรมาก ผิวขาวนวล แต่งกายด้วยชุดสีขาวสว่าง ประทับอยู่บนดอกปัทมาสีขาว (หรือบนหงส์) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความจริงที่บริสุทธิ์ พระนางส่วนใหญ่จะมีเครื่องทรงสีขาว เพราะสีขาวคือสัญลักษณของปัญญาที่บริสุทธิ์และแท้จริง และพระนางมีครื่องทรงสีเหลืองในฤดูใบไม้ผลิ ในเทศกาลของพระนางนั้นเอง พระนางสุรัสวดีไม่ทรงโปรดเครื่องประดับหรือเพชรพลอยเหมือนพระลักษมี ซึ่งไม่ใหญ่โตโอ่อ่านัก พระสุรัสวดีมี ๔ พระพาหุ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของนิสัย ๔ ด้าน ของมนุษย์ได้แก่ จิต ปัญญา ความระมัดระวัง และอัตตา

พระอุมา จำหน่ายรูปปั้นพระอุมาเทวี  จำหน่ายรูปปั้นปารวตี  จำหน่ายรูปปั้นพระศรีมหาอุมา

เทวดาแห่งความสุขในการสมรส

พระอุมาเทวี (เทวนาครี: सती) หรือพระศรีมหาอุมา หรือ ปารวตี เป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา พระอุมาเป็นชายาขององค์พระศิวะบรมเทพแห่งสวรรค์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ พระบรมเทพขันทกุมาร ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการสงคราม และ พระบรมเทพศรีมหาคเนศ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งการขจัดอุปสรรคทั้งมวล พระอุมานั้นทรงมีหลายปางด้วยกันแต่ปางที่เป็นที่รู้จักมากคือ

  1. ปางพระแม่กาลี (พะนางกรีกกาลราตรี) โดยมีลักษณะดังนี้ มี 10 พระกร ถืออาวุธครบมือ แลบลิ้นยาวถึงทรวงอก เครื่องประดับเป็นหัวกระโหลก สังวาลเป็นงูมีลักษณะดุร้าย

  2. พระศรีมหาทุรคาเทวีโดยมีลักษณะดังนี้ มี 8 ถึง 12 พระกร ลักษณะดุทรงเสื้อ เทศกาลที่มีการบูชาพะอุมาคือเทศกาลนวราตรีคุเซราห์

บางตำนานกล่าวว่า พระอุมา เดิมกำเนิดในร่างมนุษย์ นามว่า สตี เป็นธิดาของพระทักษะประชาบดี มีพระขนิษฐาพระนามว่าพระคงคา ได้เป็นชายาของพระศิวะ ที่ทรงอวตารลงมาในภาคของมุนีภพ ไว้ผมหนวดเครารุงรัง นำกระดูกมาร้อยเป็นสังวาลสวมคอ นอนตามป่าช้า มีกลิ่นตัวเหม็นสาบ เป็นที่รังเกียจของพระทักษะ แต่ด้วยบารมีของพระนางสตี จึงมองเห็นรูปกายที่แท้จริงว่าพระมุนีองค์นี้ ว่าเป็นภาคหนึ่งขององค์พระศิวะ

ด้วยความรังเกียจ พระทักษะประชาบดี จึงได้ลบหลู่เกียรติของพระศิวะในงานพิธี พระนางสตีจึงทรงเข้าตบะเพื่อขับเพลิงออกมาจากร่าง เพื่อสังหารพระองค์เอง (บางตำรากล่าวว่า พระนางกระโดดเข้ากองไฟ) ด้วยความพิโรธ พระศิวะทรงส่งอสูรชื่อ วีรภัทร ไปทำลายงานพิธี และตัดศีรษะพระทักษะประชาบดี ต่อคืนด้วยหัวแพะที่ใช้บูชายัญในพิธีนั้น พระศิวะทรงเศร้าโศกเสียใจด้วยความรักที่มีต่อพระนางสตี จึงทรงทรงพาร่างของพระนางสตีออกไปจนสุดจักรวาล และบำเพ็ญพรตบารมีอยู่เป็นเวลานาน ต่อมาพระนางได้กลับมาเกิดเป็นธิดาของท้าวหิมวัตและพระนางเมนกา และเป็นชายาของพระศิวะอีกครั้ง ในร่างของพระอุมาเมวี (ปารวตี)

ชาวอินเดียที่นับถือพระศิวะ และพระอุมา มีพิธีกรรมที่เรียกว่า สตี เมื่อสามีเสียชีวิต ภรรยาจะฆ่าตัวตายตามโดยกระโดดเข้ากองไฟ เพื่อบูชาความรักและการเสียสละของพระนางสตี ที่มีต่อพระศิวะ ในบางครั้งภรรยาของผู้ตายไม่ยินยอมเข้าพิธีสตี ก็ยังถูกญาติพี่น้องของสามี บังคับให้เผาตัวตายตาม พิธีบูชายัญนี้ถูกระงับไปเมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18

ขอขอบคุณ
ที่มาจาก th.wikipedia.org
ภาพผลงานรูปปั้นจาก mantanasin.com
view

บริการ

หน้าแรก
ตัวอย่างผลงาน
พระพุทธรูปบูชา
รูปปั้นเทพ
รูปเหมือนพระเกจิ
รูปเหมือนบุคคล
รูปปั้นสัตว์
ปั้นแต่งบ้านและสวน
โคมไฟ
ตัวการ์ตูน
ปั้นลายไทย&นูนต่ำ
ปั้นโครงสร้างขนาดใหญ่
แกะโฟม
ภาพเขียนฝาผนัง
ภาพการผลิตผลงาน
ส่งข้อความ แนะนำ-ติชม

.......มุมความรู้.......

มุมความรู้ (ศาสนา)

มุมความรู้ (เทพเจ้า)

มุมความรู้ (วิทยาศาสตร์)

....รวมของฟรี....

ปฎิทิน

« November 2024»
SMTWTFS
     12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930

 หน้าแรก

 มุมความรู้

 ตัวอย่างผลงาน

 ติดต่อเรา

view